http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. เตือนอย่าใช้เซรั่มเถื่อนโฆษณาหลอกลวง อ้างลดเลือนริ้วรอยได้ทันทีหลังใช้เสี่ยงหน้าพัง

อย. เตือนอย่าใช้เซรั่มเถื่อนโฆษณาหลอกลวง อ้างลดเลือนริ้วรอยได้ทันทีหลังใช้เสี่ยงหน้าพัง

อย. เตือนอย่าเชื่อ อย่าใช้เซรั่มเถื่อน อ้างช่วยลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้าได้ทันทีหลังใช้ รีวิวทางTik Tok อาจลักลอบใส่สารห้ามใช้ ผู้ใช้อันตรายเสี่ยงหน้าพัง

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอทาง Tik Tok สาธิตวิธีใช้เซรั่มที่ทาเพียงหยดเดียวตีนกาหายวับทันที นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า เครื่องสำอางในคลิปวิดีโอไม่ปรากฏฉลากภาษาไทย ตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชื่อ Brolamen ไม่พบการจดแจ้งในฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีข้อสังเกตจากคลิปดังกล่าวว่า ผู้ใช้เครื่องสำอางในคลิปมีการหยีตาขณะทาเซรั่ม จึงมีรอยย่นที่หางตา แต่เมื่อทาเซรั่มเสร็จก็ไม่หยีตา จึงไม่เห็นรอยย่น ดังนั้น การที่รอยย่นหายไปน่าจะเกิดจากการขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้า

การโฆษณาเครื่องสำอางในลักษณะดังกล่าว มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยภาพว่าใช้ผลิตภัณฑ์นี้ลดริ้วรอยได้ทันที ซึ่งเป็นเท็จหรือเกินความจริงและทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าเจ้าของบัญชีที่เผยแพร่คลิปวิดีโอดังกล่าวอยู่ต่างประเทศ โดย อย. จะตรวจสอบ เฝ้าระวังการโฆษณาและดำเนินคดีผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง

           รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อ เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่าได้หลงเชื่โฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ก่อนซื้อให้ตรวจสอบว่า ผลิตภัณฑ์ผ่านการจดแจ้งจาก อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ “ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ”, Facebook: FDAThai, Line@FDAThai และผลิตภัณฑ์ต้องแสดงฉลากเป็นภาษาไทย ระบุข้อความจำเป็นครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต เดือนปีที่หมดอายุ คำเตือน และเลขที่ใบรับจดแจ้ง หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.thหรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ



https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2804?fbclid=IwAR0e-8bE8NTVuJpx3bH721f1hfMp8Hr1JyuLrwL847B1ViBQljI1DjjL7ho

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,895
Page Views2,011,070
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view